พลังงานศักย์ (Potential Energy)
ถ้ากลิ้งวัตถุจากที่สูงต่างกันลงมายังพื้น โดยให้ความชันเท่ากัน จะพบว่าวัตถุที่อยู่ที่สูง เมื่อกลิ้งลงมาวัตถุที่อยู่สูงจะมีพลังงานสะสมไว้ในตัวมาก พลังศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง
1.พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy)
สมมุติยกวัตถุก้อนหนึ่งที่มีมวลสาร m ไปไว้ที่ความสูง h พลังงานที่สะสมในวัตถุเกิดจากการเปลี่ยนระดับความสูงของวัตถุ
Ep = mgh
Ep คือ พลังงานศักย์จากแรงโน้มถ่วง( จูล )
m คือ มวล ( กิโลกรัม )
h คือ ความสูงของวัตถุ
หากพิจารณาว่าวัตถุเดิมมีน้ำหนัก mg เมื่อออกแรง F ยกวัตถุไปไว้ที่ระดับสูง h
งานที่ทำ = FS
= mgh
งานที่ทำจึงเปลี่ยนไปเป็นพลังงานศักย์จากแรงโน้มถ่วง
2.พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (Elastic Potential Energy)
คืิอ พลังงานที่สะสมอยู่ในสปริงหรือวัตถุยืดหยุ่นอื่นๆ ขณะที่ยืดตัวออกจากตำแหน่งสมดุล
ในการออกแรงดึงสปริง เป็นระยะ x จะเกิดงานเกิดขึ้น ปริมาณงานที่เกิดขึ้นในการดึงสปริง จะเกิดพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
ถ้ากำหนดให้ Ep แทนด้วยพลังงานศักย์ยืดหยุ่น จะได้ตามสมการ
เมื่อ k เป็นค่าคงหัวของสปริง
s เป็นระยะยืดหดของสปริงจากจุดสมดุล มีหน่วยเป็นเมตร (m)
Ep เป็นพลังงานศักย์ยืดหยุ่น มีหน่วยเป็นจูล (J)
Credit : http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/power.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น