วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดกฏการอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy)

1.ปล่อยวัตถุมวล 2 กิโลกรัม จากพื้นเอียงลื่นสูง 3 เมตร แล้วเคลื่อนที่ไปบนพื้นราบ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน 0.5 วัตถุจะเคลื่อนที่บนพื้นราบได้ไกลที่สุด
วิธีทำ

2.วัตถุมวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที บนพื้นระดับเกลี้ยงเข้าชนสปริง ซึ่งติดกับผนัง มีค่านิจของสปริง 400 นิวตัน/เมตร อยากทราบว่าสปริงจะหดเข้าไปมากที่สุดเท่าไร
วิธีทำ

3.มวล 1 กิโลกรัม ผูกด้วยเชือกยาว 2 เมตร เดิมอยู่นิ่ง แนวเส้นเชือกอยู่ในแนวระดับ แล้วปล่อยลงมาชนสปริงที่วางตั้งในแนวระดับที่จุดต่ำสุดของเชือกดังรูป สปริงจะหดสั้นที่สุดเท่าไร (K = 1000 นิวตัน/เมตร)
วิธีทำ

4.วัตถุมวล m ซึ่งติดกับปลายสปริงที่ห้อยในแนวดิ่งติดกับเพดาน จงเปรียบเทียบระยะยืดของสปริงเมื่อปล่อยวัตถุให้ตกอย่างอิสระทันที กับระยะยืดของสปริงเมื่อค่อย ๆ เลื่อนวัตถุลงช้า ๆ จนวัตถุหยุด
วิธีทำ

5.รถทดลองมวล 0.5 กิโลกรัมวิ่งเข้าชนสปริงที่มีค่านิจ 200 นิวตัน/เมตร ด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที ขณะที่รถทดลองมีอัตราเร็วเป็นศูนย์ ขนาดของแรงดันในสปริงมีค่ากี่นิวตัน
วิธีทำ

แบบฝึกหัดพลังงานศักย์ (Potential Energy)

1.ปล่อยวัตถุมวล 2 กิโลกรัม จากที่สูง 10 เมตร ให้ตกในแนวดิ่งขณะเมื่อวัตถุสูงจากพื้น 3 เมตร วัตถุมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเท่าไร และมีพลังงานศักย์ลดลงจากเริ่มต้นเท่าไร
วิธีทำ

2.วัตถุมวล 1 กิโลกรัม ผูกด้วยเชือกยาว 2 เมตร แขวนไว้ในแนวดิ่ง มีแรงดึงในแนวระดับกระทำต่อวัตถุตลอดเวลา จนแนวเส้นเชือกทำมุม 60 oกับแนวดิ่ง จงหางานของแรงที่ดึง
วิธีทำ

3.สปริงตัวหนึ่งมีค่านิจ 500 นิวตัน/เมตร เมื่อดึงให้สปริงยืดออกเป็นระยะทาง 10 เซนติเมตร ต้องออกแรงดึงสปริงเท่าใด
วิธีทำ

4.ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงสปริงกับระยะยืดออกของสปริงเป็นไปตามกราฟ ค่านิจของสปริงมีค่าเท่าไร
วิธีทำ

5.กราฟแสดงความสัมพันธ์ของแรงดึง กับระยะทางที่สปริงยืด จงหา
    ก. ค่านิจของสปริง
    ข. แรงที่ทำให้สปริงยืดออก 2 เมตร
    ค. พลังงานศักย์ในสปริงเมื่อสปริงยืดออก 2 เมตร
    ง. งานที่ทำให้สปริงยืดออก 2 เมตร
วิธีทำ

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดพลังงานจลน์ (Kinetic Energy)

1.วัตถุ 2 กิโลกรัม ตกจากดาดฟ้าตึกสูง 20 เมตร ขณะกระทบพื้นมีพลังงานจลน์เท่าใด
วิธีทำ

2.อัตราเร็วของวัตถุหนึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของเดิม อยากทราบว่าพลังงานจลน์จะเป็นกี่เท่าของเดิม
วิธีทำ

3.วัตถุก้อนหนึ่งมีมวล 7 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นราบเกลี้ยง ต่อมาถูกแรง 20 นิวตัน ดันให้เคลื่อนที่เป็นระยะทาง 10 เมตร แล้วเปลี่ยนเป็นแรง 25 นิวตัน ดันต่อไปในแนวเดิมเป็นระยะทาง 6 เมตร จงหาพลังงานจลน์และอัตราเร็วของวัตถุนี้ภายหลังถูกแรงกระทำสองครั้ง
วิธีทำ

4.อนุภาคหนึ่งมีมวล 0.01 กิโลกรัม กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 20 เมตร/วินาที มีแรงมากระทำในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ทำให้ความเร่งคงที่ 6 เมตร/วินาที2 อยากทราบว่าภายใน 10 วินาที อนุภาคนี้จะมีพลังงานจลน์เท่าใด และมีพลังงานเปลี่ยนแปลงอย่างไร
วิธีทำ

5.วัตถุก้อนหนึ่งมีมวล 0.5 กิโลกรัม กำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที จะมีพลังงานจลน์เท่าไร
วิธีทำ

กฏการอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy)

            "พลังงานเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ และไม่สามารถที่จะทำให้สูญหายไปได้ ดังนั้นพลังงานรวมทั้งหมดของวัตถุก้อนใดก้อนหนึ่งไม่ว่าอยู่ตำแหร่งใด ๆ ย่อมมีค่าเท่ากันทุก ๆ ตำแหน่ง " กฏนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่อไม่มีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุยกเว้นแรงโน้มถ่วงและแรงสปริง

            จากกฏการคงที่ของพลังงานกลนี้ เพื่อให้ง่ายแก่ความเข้าใจจึงขออธิบายด้วยคำพูดใหม่ว่า "ถ้าวัตถุเคลื่อนที่จากตำแหน่ง (1) ไปยังตำแหน่ง (2) โดยไม่มีแรงอื่นใดมากระทำยกเว้นแรง mg กับแรง F สปริงจะได้ว่าผลรวมของพลังงาน แต่ละตำแแหน่งคงที่ " ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า

                         E(1) = E(2)   หรือ E + E = E + E นั่นเอง



            อันที่จริงสูตรนี้ได้มาจากสูตรความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานนั่นเอง โดยค่าของงานทำและงานต้านเป็นศูนย์ คือไม่มีงานทำและงานต้าน ฉะนั้น สามารถนำสูตรนี้ไปใช้ในกรณีที่ไม่มีงานทำและไม่มีงานต้านนั่นเอง ซึ่งจะแยกกล่าวเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

1. วัตถุเคลื่อนที่ภายใต้แรง mg เพียงแรงเดียว คือ

          1. วัตถุเคลื่อนดิ่งอิสระ

          2. วัตถุเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

2. วัตถุเคลื่อนที่ภายใต้แรง mg กับแรง N โดยแรง N ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

          1. วัตถุไถลบนพื้นเอียงลื่น
          2. วัตถุไถลบนรางโค้งลื่น
  •  วัตถุมี mg กับ N กระทำเท่านั้น งานจากแรง mg ไม่นับเป็นงานทำและงานต้าน
  • งานจากแรง N มีค่า = 0 จึงไม่มีงานทำและงานต้าน
3. วัตถุเคลื่อนภายใต้แรง mg กับแรงตึง T โดยแรงตึง T ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

          1. วัตถุเคลื่อนที่แบบวงกลมในแนวดิ่ง
          2. วัตถุแกว่งแบบลูกตุ้มนาฬิกา
  • งานจากแรง mg ไม่นับ, งานจากแรง T = 0
  • ไม่มีงานทำและงานต้าน
4. วัตถุเคลื่อนภายใต้แรง mg กับแรง F สปริงเท่านั้น

          1. วัตถุลงมาชนสปริงที่ตั้งดิ่งอยู่
          2. ใช้สปริงดีดวัตถุขึ้นไปในแนวดิ่ง

  • งานจากแรง mg และงานจากแรง F ไม่นับเป็นงานทำและงานต้าน
  • ไม่มีงานทำและงานต้าน
5. วัตถุเคลื่อนภายใต้แรง mg,N และ F สปริงเท่านั้น

          1. วัตถุไถลลงมาตาพื้นเอียงลื่นชนสปริงที่อยู่ส่วนล่าง
          2. วัตถุถูกดีดจากสปริงขึ้นไปบนพื้นเอียงลื่น
          3. วัตถุถูกดีดจากสปริงขึ้นไปบนพื้นเอียงลื่น
  • งานจากแรง mg และงานจากแรง F \ ไม่นับเป็นงานทำและงานต้าน
  • งานจากแรง N = 0
                        พิจารณาการตั้งสมการ E + E = E + E ในสภาวะต่าง ๆ

Credit :   http://www.tmr.ac.th/4-3/3_002/title2.html

พลังงานศักย์ (Potential Energy)

พลังงานศักย์ (Potential Energy)


         
            ถ้ากลิ้งวัตถุจากที่สูงต่างกันลงมายังพื้น โดยให้ความชันเท่ากัน จะพบว่าวัตถุที่อยู่ที่สูง เมื่อกลิ้งลงมาวัตถุที่อยู่สูงจะมีพลังงานสะสมไว้ในตัวมาก พลังศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง

           1.พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy)

  
              สมมุติยกวัตถุก้อนหนึ่งที่มีมวลสาร m ไปไว้ที่ความสูง h พลังงานที่สะสมในวัตถุเกิดจากการเปลี่ยนระดับความสูงของวัตถุ

                                  Ep = mgh


          Ep คือ พลังงานศักย์จากแรงโน้มถ่วง( จูล )
          m  คือ มวล ( กิโลกรัม )
          h   คือ ความสูงของวัตถุ



        หากพิจารณาว่าวัตถุเดิมมีน้ำหนัก mg เมื่อออกแรง F ยกวัตถุไปไว้ที่ระดับสูง h
   งานที่ทำ = FS
                  = mgh
งานที่ทำจึงเปลี่ยนไปเป็นพลังงานศักย์จากแรงโน้มถ่วง


            2.พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (Elastic Potential Energy)
                      คืิอ พลังงานที่สะสมอยู่ในสปริงหรือวัตถุยืดหยุ่นอื่นๆ ขณะที่ยืดตัวออกจากตำแหน่งสมดุล

                      ในการออกแรงดึงสปริง เป็นระยะ x จะเกิดงานเกิดขึ้น ปริมาณงานที่เกิดขึ้นในการดึงสปริง จะเกิดพลังงานศักย์ยืดหยุ่น


ถ้ากำหนดให้  Ep แทนด้วยพลังงานศักย์ยืดหยุ่น จะได้ตามสมการ

                                                 เมื่อ  k   เป็นค่าคงหัวของสปริง
                                                         s    เป็นระยะยืดหดของสปริงจากจุดสมดุล มีหน่วยเป็นเมตร (m)
                                                         Ep เป็นพลังงานศักย์ยืดหยุ่น มีหน่วยเป็นจูล (J)


Credit : http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/power.htm

พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)

            จากกฎของนิวตัน F=ma หรือเมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุ วัตถุเคลื่อนที่ ก็จะมีพลังงานของวัตถุกำลังเคลื่อนที่
พลังงานที่เกิดขึ้น เป็นพลังงานจลน์ (Kinematic)



เมื่อ Ek = พลังงานจลน์ มีหน่วยเป็นจูล (J) 
        m = มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg) 
        v = อัตราเร็วของวัตถุ มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)

            แต่ว่าพลังงานจลน์นี้จะน้อยลงไปเรื่อยๆหากพลังงานศักย์เพิ่มขึ้นเมื่อโยนวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นจะเริ่มเก็บพลังงานศักย์ไปเรื่อยๆ แต่เมื่อวัตถุนั้นตกลงมาวัตถุมีการใช้พลังงานศักย์โดยเปลี่ยนรูปพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์ในการตกลงมาของวัตถุ



Credit : http://www.school.net.th/library/snet3/kung/Kinetic/ek.htm

พลังงาน (Energy)

            พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถของวัตถุที่ทำงานได้ แสดงว่าวัตถุนั้นมีพลังงาน

            พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน เมื่อเราเห็นคนคนหนึ่งสามารถทำงานได้จำนวนมาก เราจะกล่าวว่าคนนั้นมีพลังงานมาก หรือน้ำมันแก๊สโซลีนเป็นเชื้อเพลิงซึ่งให้พลังงานออกมาเมื่อเผาไหม้ พลังงานสามารถทำงานได้ จึงทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่
           วัตถุใดๆ ก็ตามมีพลังงานอยู่ในตัว 2 รูปด้วยกันคือ
               1.พลังงานอันเกิดจากการเคลื่อนที่ เรียกว่า พลังงานจลน์ (kinetic energy) และ
               2.พลังงานที่มีสะสมอยู่ในตัว เนื่องมาจากภาวะของวัตถุ เรียกว่า พลังงานศักย์ (potenxtial energy)
           ตัวอย่างของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์นั้นเราพอจะเห็นได้ง่ายๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราอยู่ทุกวัน เช่น รถยนต์กำลังวิ่งด้วยความเร็วปกติบนถนนในที่ราบ ถ้าต้องการให้หยุดเราต้องใชัห้ามล้อ ซึ่งหมายถึงออกแรงต้านการเคลื่อนที่ รถยนต์ยังไม่สามารถหยุดได้ทันทีแต่จะเลื่อนต่อไปเป็นระยะทางหนึ่ง เราต้องทำงานด้วยแรงต้านทานเพื่อให้รถหยุด เพราะรถมีพลังงานเนื่องจากกำลังเคลื่อนที่อยู่ นั่นคือรถมีพลังงานจลน์

             สำหรับตัวอย่างของพลังงานศักย์แบบหนึ่งที่น่าจะเห็นได้ ก็คือก้อนหินผูกห้อยที่ปลายเชือก ในภาวะที่ 1 ก้อนหินแขวนห้อยอยู่นิ่งๆ แต่ในภาวะที่ 2 ก้อนหินถูกยกขึ้นไปสูงกว่าระดับเดิม


             ทำให้ตัวของมันเองมีพลังงานพร้อมที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ได้ทันที และถ้ายกให้ก้อนหินสูงขึ้นอีก มันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้นอีกด้วย เพราะมีพลังงานศักย์มากขึ้นเนื่องจากตำแหน่งของวัตถุสูงขึ้น

             พลังงานมีหลายรูปแบบ เช่น พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานแสง พลังงานเสียง ฯลฯ


Credit : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/supinya/energy/energy.htm

แบบฝึกหัดกำลัง (power)

1.ปั้นจั่นยกของมวล 1500 กิโลกรัม ขึ้นสูง 10 เมตร ในเวลา 20 วินาที จงหากำลังของปั้นจั่นในการยกของนี้

วิธีทำ
 
2.จงหากำลังของเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง ซึ่งกำลังยกวัตถุมวล 500 กิโลกรัม ขึ้นในแนวดิ่ง ด้วยความเร็วคงที่ 1.6 เมตร/วินาที
วิธีทำ
 
3.รถอีแต๋นคันหนึ่งใช้เครื่องยนต์ซึ่งมีกำลัง 5 กิโลวัตต์ สามารถแล่นได้เร็วสูงสุด 36 กิโลเมตร/ชั่วโมง จงหาแรงฉุดสูงสุดของเครื่องยนต์
วิธีทำ
 
4.รถมอเตอร์ไซด์คันหนึ่ง รวมคนขับมีมวลทั้งหมด 150 กิโลกรัม เมื่อปล่อยให้รถมอเตอร์ไซด์คันนี้วิ่งลงจากเนินเขาที่ชัน 30o ปรากฏว่ารถจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ 4 เมตรต่อวินาที จงหาว่ารถมอเตอร์ไซด์คันนี้จะต้องมีกำลังเท่าใด เมื่อวิ่งขึ้นเนินเขานี้ด้วยอัตราเร็ว 4 เมตรต่อวินาที
วิธีทำ
 
5.จากรูปวัตถุอยู่บนพื้นระดับ ถูกกระทำด้วยแรง F ทำมุม 60o กับแนวระดับขนาดของแรง F เปลี่ยนแปลงตามการกระจัดในแนวระดับดังกราฟ จงหากำลังในการทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ทาง 40 เมตร ในเวลา 10 วินาที


กำลัง (Power)

กำลัง (Power)
            จากความรู้เรื่องงานพบว่า  งานที่เกิดจะเกี่ยวข้องกับแรง  และการกระจัดเท่านั้นไม่เกี่ยวกับปริมาณอื่น เช่น ไม่เกี่ยวข้องกับเวลา  แต่ยังมีปริมาณที่เกี่ยวข้องกับงานและเวลาที่ใช้ในการเกิดงานอีก เช่น งานที่ทำใช้เวลาน้อยเรากล่าวว่าจะมีกำลังมากกว่าในช่วงงานที่ทำในเวลาที่มากกว่า
            นิยาม  กำลัง  คือ  อัตรากที่ทำงานหรืองานที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลา
            กำหนดให้  W  คือ  งานที่ทำได้  มีหน่วยเป็นจูล (J)
                               t    คือ  เวลาที่ใช้ในการทำงาน  มีหน่วยเป็นวินาที  (s)
                               P   คือ  กำลัง
                         จากนิยามของกำลังเขียนเป็สมการได้ว่า

                         หน่วยของกำลัง  คือ  J/s  หรือเรียกว่า  Watt  (วัตต์)  "W"
            การหากำลังของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วความเร็ว  V

                              ได้ว่า                       P = FV


กำลังม้า (horsepower, hp) คือ กำลังของม้า 1 ตัวหรืออัตราการทำงานของม้า 1 ตัว เช่น เครื่องยนต์ 10 hp สามารถทำงานเท่ากับม้า 10 ตัว      หนึ่งกำลังม้า คือ งาน 33,000 ฟุต-ปอนด์ต่อหนึ่งนาที (ft-lb/min)
            ม้าเดิน 165 ft ในเวลา 1 นาที และยกน้ำหนัก 200 lb ปริมาณงานที่ทำภายในเวลา 1 นาที คือ 33,000 ft-lb (165 ft * 200 lb)

ภาพแสดง ม้าหนึ่งตัวสามารถทำงาน 33,000 ft-lb/min

             ถ้าม้าทำงานดังกล่าวภายในเวลา 2 นาที ดังนั้นงานที่ทำต่อเวลา 1 นาที จะเป็นครื่งหนึ่งของงานครั้งแรก หรือกำลังม้าเท่ากับ 1/2 hp สูตรการคำนวณหากำลังม้าคือ
เมื่อ   L  หมายถึง ความยาวเป็นฟุต (เป็นระยะที่ W กระทำ)
        W  หมายถึง แรงเป็นปอนด์ (กระทำตลอดระยะความยาว L)
          t   หมายถึง เวลาเป็นนาที

หมายเหตุ    กำลัง  1  กำลังม้า (HP)  มีค่า  746  วัตต์


Credit : http://www.rmutphysics.com/charud/exercise/energy/energy1/9-5.gif

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แบบฝึกหักงาน (work)

1. ออกแรง 20 นิวตัน ลากวัตถุไปตามแนวชนานกับพื้นไกล 5 เมตร จงหางานของแรงที่กระทำ
วิธีทำ

2. ชายคนหนึ่งยกวัตถุมวล 5 กิโลกรัม ขึ้นสูง 2 เมตร จงหางานของแรงยก
วิธีทำ

3. ออกแรง 40 นิวตัน ดึงวัตถุที่วางบนพื้นราบเกลี้ยงในแนวทำมุม 60 o กับแนวระดับ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ไปตามพื้นราบได้ไกล 10 เมตร งานของแรงที่ดึงวัตถุมีขนาดเท่าใด
วิธีทำ

4.นำเชือกเส้นเล็ก ๆ ผูกวัตถุมวล 5 กิโลกรัม แล้วหย่อนลงจากที่สูง 20 เมตร ด้วยความเร่งคงที่ 0.5 เมตรต่อวินาที 2 จงหางานของแรงตึงในเส้นเชือกเมื่อหย่อนวัตถุลงมาได้ระยะทาง 10 เมตร
วิธีทำ

5. มวล 4 กิโลกรัม วางบนพื้นราบซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน 0.2 มีแรง 20 นิวตัน ดึงวัตถุในแนวขนานพื้น เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง 20 นิวตัน ได้ทาง 10 เมตร จงหางาน เนื่องจาก
ก. แรง 20 นิวตัน
ข. แรงเสียดทาน
ค. แรงลัพธ์
วิธีทำ

งาน(work)

          ในชีวิตประจำวันเมื่อเราทำงานบ้าน ปัด กวาด เช็ด ถู โดยความหมายของคนทั่วๆไป ถือว่าเป็นการทำงาน แต่ในการออกกำลังกายเช่น การวิ่ง หรือหารเล่นกีฬาโดยความหมายของคนทั่วๆไป ไม่ถือว่าเป็นการทำงาน แต่โดยความหมายทางฟิสิกส์ถือว่าการวิ่ง การเล่นกีฬา เป็นการทำงาน ส่วนการทำงานบ้านไม่เป็นการทำงาน ดังนั้น งานตามความหมายในวิชาฟิสิกส์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มีแรงมากระทำ ต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุมีการกระจัด โดยปริมาณงานที่ทำจะขึ้นกับแรงและการ


คนยกของจากพื้นไปไว้ที่รถกระบะ คนหลายคนช่วยกันเข็นรถที่ติดหล่ม

          นักเรียนคงได้ยินคำว่า “งาน” มาแล้ว เช่น คุณทำงานหรือยัง งานหนักไหม ? ทำงานบ้านกันเถอะ เหล่านี้เป็นต้น แต่การทำงานเหล่านี้ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ถือว่าเป็นงาน การทำงานในทางวิทยาศาสตร์เป็นงานที่ได้จากการออกแรงเพื่อทำให้วัตถุเคลื่อนที่ในทิศทางของแรงที่กระทำกับวัตถุนั้น

          เพราะฉะนั้น งาน หมายถึง การออกแรงกระทำกับวัตถุเพื่อใช้วัตถุนั้น เคลื่อนที่ไปทิศทางเดียวกับแรงที่กระทำกับวัตถุนั้น เราเขียนความหมายของงานในรูปสมการ ได้ดังนี้


                                  W = F x S   หรือ  W = F x S cos θ
เมื่ื่อกำหนดให้

  •  W เป็น งานที่ทำให้มีหน่วยเป็นจูล (Joule : J) หรือนิวตัน - เมตร(Newton – metre : N.m)
  • F เป็นแรงที่กระทำกับวัตถุมีหน่วยเป็นนิวตัน (Newton : N)
  • S เป็นระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามทางของแรงที่กระทำกับวัตถุมีหน่วยเป็นเมตร(Metre : m)
  • θ เป็นมุมทระหว่างทิศทางของแรงกระทำกับแนวการเคลื่อนที่

Credit:   http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/somchit_m/momentums_1/sec01p01.html