วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดกฏการอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy)

1.ปล่อยวัตถุมวล 2 กิโลกรัม จากพื้นเอียงลื่นสูง 3 เมตร แล้วเคลื่อนที่ไปบนพื้นราบ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน 0.5 วัตถุจะเคลื่อนที่บนพื้นราบได้ไกลที่สุด
วิธีทำ

2.วัตถุมวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที บนพื้นระดับเกลี้ยงเข้าชนสปริง ซึ่งติดกับผนัง มีค่านิจของสปริง 400 นิวตัน/เมตร อยากทราบว่าสปริงจะหดเข้าไปมากที่สุดเท่าไร
วิธีทำ

3.มวล 1 กิโลกรัม ผูกด้วยเชือกยาว 2 เมตร เดิมอยู่นิ่ง แนวเส้นเชือกอยู่ในแนวระดับ แล้วปล่อยลงมาชนสปริงที่วางตั้งในแนวระดับที่จุดต่ำสุดของเชือกดังรูป สปริงจะหดสั้นที่สุดเท่าไร (K = 1000 นิวตัน/เมตร)
วิธีทำ

4.วัตถุมวล m ซึ่งติดกับปลายสปริงที่ห้อยในแนวดิ่งติดกับเพดาน จงเปรียบเทียบระยะยืดของสปริงเมื่อปล่อยวัตถุให้ตกอย่างอิสระทันที กับระยะยืดของสปริงเมื่อค่อย ๆ เลื่อนวัตถุลงช้า ๆ จนวัตถุหยุด
วิธีทำ

5.รถทดลองมวล 0.5 กิโลกรัมวิ่งเข้าชนสปริงที่มีค่านิจ 200 นิวตัน/เมตร ด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที ขณะที่รถทดลองมีอัตราเร็วเป็นศูนย์ ขนาดของแรงดันในสปริงมีค่ากี่นิวตัน
วิธีทำ

5 ความคิดเห็น: