จากกฏการคงที่ของพลังงานกลนี้ เพื่อให้ง่ายแก่ความเข้าใจจึงขออธิบายด้วยคำพูดใหม่ว่า "ถ้าวัตถุเคลื่อนที่จากตำแหน่ง (1) ไปยังตำแหน่ง (2) โดยไม่มีแรงอื่นใดมากระทำยกเว้นแรง mg กับแรง F สปริงจะได้ว่าผลรวมของพลังงาน แต่ละตำแแหน่งคงที่ " ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า
E(1) = E(2) หรือ E + E = E + E นั่นเอง
อันที่จริงสูตรนี้ได้มาจากสูตรความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานนั่นเอง โดยค่าของงานทำและงานต้านเป็นศูนย์ คือไม่มีงานทำและงานต้าน ฉะนั้น สามารถนำสูตรนี้ไปใช้ในกรณีที่ไม่มีงานทำและไม่มีงานต้านนั่นเอง ซึ่งจะแยกกล่าวเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. วัตถุเคลื่อนที่ภายใต้แรง mg เพียงแรงเดียว คือ
1. วัตถุเคลื่อนดิ่งอิสระ
2. วัตถุเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
2. วัตถุเคลื่อนที่ภายใต้แรง mg กับแรง N โดยแรง N ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
1. วัตถุไถลบนพื้นเอียงลื่น
2. วัตถุไถลบนรางโค้งลื่น
- วัตถุมี mg กับ N กระทำเท่านั้น งานจากแรง mg ไม่นับเป็นงานทำและงานต้าน
- งานจากแรง N มีค่า = 0 จึงไม่มีงานทำและงานต้าน
1. วัตถุเคลื่อนที่แบบวงกลมในแนวดิ่ง
2. วัตถุแกว่งแบบลูกตุ้มนาฬิกา
- งานจากแรง mg ไม่นับ, งานจากแรง T = 0
- ไม่มีงานทำและงานต้าน
1. วัตถุลงมาชนสปริงที่ตั้งดิ่งอยู่
2. ใช้สปริงดีดวัตถุขึ้นไปในแนวดิ่ง
- งานจากแรง mg และงานจากแรง F ไม่นับเป็นงานทำและงานต้าน
- ไม่มีงานทำและงานต้าน
1. วัตถุไถลลงมาตาพื้นเอียงลื่นชนสปริงที่อยู่ส่วนล่าง
2. วัตถุถูกดีดจากสปริงขึ้นไปบนพื้นเอียงลื่น
3. วัตถุถูกดีดจากสปริงขึ้นไปบนพื้นเอียงลื่น
- งานจากแรง mg และงานจากแรง F \ ไม่นับเป็นงานทำและงานต้าน
- งานจากแรง N = 0
Credit : http://www.tmr.ac.th/4-3/3_002/title2.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น